ขนมทองเอก
ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทานขนมทองเอกเป็นขนมในตระกูลที่มีชื่อว่าทอง ขนมในตระกูลทองนั้นมีอยู่มากมายอันได้แก่ ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมในตระกูลนี้จะต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ เพราะเป็นขนมที่มีลักษณะสง่างาม และโดดเด่นกว่าขนมชนิดอื่น ขนมทองเอกนั้นเป็นขนม 1 ใน 9 ชนิดที่ถูกเรียกว่าขนมมงคล อันได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น เม็ดขนุน ถ้วยฟู จ่ามงกุฏ ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ขนมมงคลนั้นจะใช้ในการนำไปประกอบเครื่องคาวหวานเพื่อถวายพระในงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานมงคลสมรส หรืองานขึ้นบ้านใหม่ โดยเชื่อว่างานมงคลเหล่านี้จะต้องใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะ และเป็นสิริมงคล ซึ่งคำว่า เอก ในชื่อขนมทองเอกนั้น หมายความว่า การเป็นที่หนึ่งในมวลขนมทองทั้งหมด
ขนมจ่ามงกุฏ
เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า “จ่ามงกุฎ” หมายถึงการเป็นหัวหน้าสูงสุดแสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ถือเป็นการแสดงความยินดี และอวยพรให้มีความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไปจ่ามงกุฎเป็นขนมไทยโบราณที่หารับประทาน ได้ยากใช้เวลาในการทำนานพอสมควร สมัยโบราณจัดเป็นขนมในราชสำนักเป็นเครื่องเสวยสำหรับ ถวายพระเจ้าแผ่นดินดังพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในรัชกาลที่2กล่าวถึงขนมจ่ามงกุฎว่า "งามจริงจ่ามงกุฎใส่ชื่อดุจ มงกุฎทองเรียมร่ำคำนึงปองสะอิ้งน้องนั้นเคยยล"
ขนมเสน่ห์จันทร์
ขนมเสน่ห์จันทร์หมายถึงต้น “จันทน์” ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งมีผลสุก สีเหลือง เปล่งปลั่ง ทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอมชวนให้หลงใหล คนโบราณจึงนำความมีเสน่ห์ของผลจันทน์มาประยุกต์ทำเป็น ขนมและได้นำ “ผลจันทร์ป่น” มาเป็นส่วนผสมทำให้มี กลิ่นหอม เหมือนผลจันทร์ ให้ชื่อว่า “ขนมเสน่ห์จันทร์” โดยเชื่อว่าคำว่า เสน่ห์จันทน์ เป็นคำที่มีสิริมงคลจะทำให้มีเสน่ห์ คนรักคนหลง ดังเสน่ห์ของผลจันทน์ ขนมเสน่ห์จันทร์ จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรสแต่โบราณนานมามีเรื่องเล่าว่า ชายหนุ่มผู้หนึ่งได้เก็บผลไม้สีเหลืองผุดผ่องไปฝากมารดา เมื่อมารดานำผลไม้นั้นไปเก็บไว้เพื่อรอจะกินพร้อมบุตรชายหลังอาหารเย็น.แต่ผลไม้นั้นกลับได้หายไป คงเหลือแต่กลิ่นที่ยังหอม อบอวล ชวนชื่นใจ พอตกดึกคืนนั้นพระจันทร์เต็มดวง...ชายหนุ่มรู้ว่าผลไม้กลิ่นหอมได้หายไป ด้วยความกตัญญูอยากให้มารดาได้ลิ้มรสจึงกลับมายังต้นไม้ ต้นเดิมเพื่อเก็บผลใหม่ไปให้มารดา เขาได้พบกับหญิงสาวสวยผู้หนึ่ง นางกำลังเดินค้นหาผลไม้กลิ่นหอมนี้เช่นกัน นางกล่าวว่าจะนำไปฝากบิดา และทั้งคู่ก็ได้ผลไม้กลับบ้านดังใจ
ต่อมาทุกคืนวันเพ็ญ...เขาทั้งคู่จะมาหาผลไม้กลิ่นหอมนี้ด้วยกัน จนในที่สุดก็รักกันและแต่งงานกัน ด้วยมนต์เสน่ห์ของผลไม้นี้เองที่นำมาซึ่งความสุข สมหวัง และด้วยความกตัญญู ทั้งคู่จึงนำเมล็ดที่มีกลิ่นหอมของผลไม้ชนิดนี้มาบดใส่แป้งข้าว ใส่ถั่วบ้าง ใส่ไข่บ้าง กะทิ และน้ำตาล กวนรวมกันพอปั้นได้นำมาปั้นเป็นผลลูกจ้นทร์ แจกจ่ายในงานสมรส จากตำนานของขนมเสน่ห์จันทน์จึงเป็นที่นิยมใช้ในพานขนมแต่งงานมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา: http://www.oknation.net/blog/Gang504/2013/12/10/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น