วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

สถานที่ท่องเที่ยว น้ำตก ทีลอซู




น้ำตกทีลอซู


ประวัติ

ทีลอซู ได้รับการค้นพบโดยพรานชาวกะเหรี่ยงคนหนึ่งที่เดินเข้ามาล่าสัตว์ ก่อนที่ ตชด.ได้บินเข้ามาสำรวจในพื้นที่และได้พบน้ำตกทีลอชู ต่อมากรมป่าไม้จะประกาศให้บริเวณนี้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง และหลังจากปี พ.ศ. 2528 ที่ อำเภอ ปรีชา อินทวงศ์ พาบุคลากรของนิตยสารท่องเที่ยวแคมปิง เข้าไปสำรวจน้ำตกทีลอซูและนำไปตีพิมพ์ลงนิตยสารจึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนภายนอกรู้จัก
"ทีลอซู" หรือออกเสียงตามภาษาภาษาปะก่าหญอว่า "ที-หล่อ-ชู" ที แปลว่า น้ำ, หล่อ แปลว่า ไหล และ ชู แปลว่า ทิ่มแทง (หล่อ-ชู เป็น กิริยา หมายถึง การไหลลงมาอย่างแรงของน้ำปะทะกับพื้นเบื้องล่าง) ดังนั้นจึงแปลว่าน้ำตก (บางท่านบอกว่าแปลว่า น้ำตกดำ คำว่า "ดำ" ไม่ได้ออกเสียงว่า ซู แต่ออกเสียงคล้ายๆกัน ไม่รู้จะเขียนเป็นอักษรไทยอย่างไร เพราะเสียงนี้ไม่มีในภาษาไทย ต้องออกเสียงให้ฟังนะครับ ถึงจะแยกความแตกต่างได้) น้ำตกนี้ซ่อนอยู่ในหลืบผาอันกว้างใหญ่ สายน้ำเกิดจากห้วยกล้อทอซึ่งมีแดนกำเนิดอยู่บนดอยผะวี แล้วไหลลงแม่น้ำแม่กลองที่ ตำบล แม่ละมุ้ง อำเภอ อุ้มผาง
การค้นพบที่กล่าวถึงเป็นการพบของคนไทย จากงานของ ประชา แม่จัน ในหนังสือ "อุ้มผาง เบื้องหลังธรรมชาติ" [1] เขียนถึง บริเวณที่ตั้งแคมป์ทีลอชู เป็นบ้านเก่าชาวปกากะญอ (กะเหรี่ยง) เรียกว่า "ว่าชื่อคี" บริเวณที่จอดรถเป็นที่นาเก่าของชาวบ้านที่นี่ การที่เป็นบ้านร้างเพราะชาวบ้านบางส่วนได้ย้ายไปอยู่บ้านโขะทะเพื่อเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ที่เหลือย้ายเข้ามาอยู่กับฝ่ายรัฐบาล ดังนั้น ชาวปกากะญอที่นี่รู้จักน้ำตกทีลอชูมาช้านานแล้ว
ต้นน้ำกล้อทอนั้นอยู่ทีผืนป่าเหนือบ้านกล้อทอครับ ส่วนดอยพาวีนั้นอยู่ในเขตแดนพม่าแล้วและดอยพาวีเป็นต้นน้ำแหม่จอโกล หรือแม่น้ำแม่จันซึ่งสายน้ำแม่จันจะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำแม่กลองที่บ้านแม่จันทะกลายเป็นแม่น้ำแม่กลองไหลลงไปเรื่อยๆ จนเป็นแม่น้ำแม่กลองที่สมุทรสงครามนั่นแหละครับ ทั้งนี้ต้นน้ำแม่กลองอยู่ที่บ้านแม่กลองคี (คำว่าคี) คือนั้นน้ำส่วนทะจะเป็นปลายน้ำหรือสบน้ำ เช่น สบเมย สบแจ่ม อะไรประมาณนั้น ในส่วนของลำห้วยกล้อทอนั้นต้นน้ำจริงๆ จะอยู่ที่ผืนป่าเลยบ้านกล้อทอขึ้นไปก่อนจะมาปรากฏเป็นแม่ลำห้วยใหญ่จริงๆ ก็ที่ถ้ำกล้อทอคี ซึ่งจะเป็นถ้ำขนาดใหญ่ โดยสายน้ำกล้อทอนี้จะไหลผ่านบ้านกล้อทอ บ้านนุเซโปล้ บ้านคอกา (บ้านร้าง) จากนั้นก็จะไหลผ่านผืนป่าเข้าไปจนถึงน้ำตกทีลอซู ซึ่งก่อนจะถึงน้ำตกทีลอซู จะมีลำห้วยลำธารไหลมาบรรจบกับลำห้วยกล้อทอหลายสาย คำว่า ที แปลว่าน้ำ ถูกต้อง คำว่า หล่อ ก็แปลว่าลงนั้นถูกต้องคลับ ส่วนคำว่า "หล่อชู" นั้น เป็นคำประสมระหว่าง "หล่อ" กับ "ชู" หล่อคือลงครับ ชู คือทิ่ม แทง ปัก แต่คำว่าหล่อชูเป็นคำเฉพาะที่แปลได้ว่า "พุ่งลง" การตกลงจากที่สูงนั้นกะเหรี่ยงใช้ต่างกันไป เช่น ไหลลง จะใช้คำว่า หล่อหยวา ตกลง ใช้คำว่า หล่อแต่ะ หยดลง ใช้คำว่า หล่อจ่อ การตกแบบกระจาย ใช้คำว่า หล่อชี กล่าวโดยสรุปก็คือ ทีหล่อชูแปลว่า "น้ำตก"


















ขนมไทยโบราณ



ขนมทองเอก

       ขนมทองเอกในสมัยโบราณนั้นได้มีการนำทองคำเปลวมาตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ มาประดับไว้ด้านบนของขนมทองเอก โดยใช้วิธีการวางแผ่นทองคำเปลววางไว้บนแม่พิมพ์ก่อนเทขนมทองเอกลงในแม่พิมพ์ แต่ปัจจุบันไม่มีการนำทองคำเปลวมาตกแต่งขนมทองเอก เนื่องจากทองคำเปลวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้รับประทานขนมทองเอกเป็นขนมในตระกูลที่มีชื่อว่าทอง ขนมในตระกูลทองนั้นมีอยู่มากมายอันได้แก่ ทองเอก ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมในตระกูลนี้จะต้องใช้ความพิถีพิถันในการทำ เพราะเป็นขนมที่มีลักษณะสง่างาม และโดดเด่นกว่าขนมชนิดอื่น ขนมทองเอกนั้นเป็นขนม 1 ใน 9 ชนิดที่ถูกเรียกว่าขนมมงคล อันได้แก่ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมชั้น เม็ดขนุน ถ้วยฟู จ่ามงกุฏ ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ขนมมงคลนั้นจะใช้ในการนำไปประกอบเครื่องคาวหวานเพื่อถวายพระในงานมงคลต่างๆ เช่น งานบวช งานมงคลสมรส หรืองานขึ้นบ้านใหม่ โดยเชื่อว่างานมงคลเหล่านี้จะต้องใช้เฉพาะขนมไทยที่มีชื่อไพเราะ และเป็นสิริมงคล ซึ่งคำว่า เอก ในชื่อขนมทองเอกนั้น หมายความว่า การเป็นที่หนึ่งในมวลขนมทองทั้งหมด








ขนมจ่ามงกุฏ

      เป็นขนมที่ทำยากมีขั้นตอนในการทำสลับซับซ้อน นิยมทำกันเพื่อใช้ประกอบพิธีการที่สำคัญจริงๆ คำว่า “จ่ามงกุฎ” หมายถึงการเป็นหัวหน้าสูงสุดแสดงถึงความมีเกียรติยศสูงส่ง นิยมใช้เป็นของขวัญในงานเลื่อนยศ เลื่อนตำแหน่ง ถือเป็นการแสดงความยินดี และอวยพรให้มีความก้าวหน้า ในหน้าที่การงานยิ่งๆขึ้นไปจ่ามงกุฎเป็นขนมไทยโบราณที่หารับประทาน ได้ยากใช้เวลาในการทำนานพอสมควร สมัยโบราณจัดเป็นขนมในราชสำนักเป็นเครื่องเสวยสำหรับ ถวายพระเจ้าแผ่นดินดังพระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานในรัชกาลที่2กล่าวถึงขนมจ่ามงกุฎว่า "งามจริงจ่ามงกุฎใส่ชื่อดุจ มงกุฎทองเรียมร่ำคำนึงปองสะอิ้งน้องนั้นเคยยล"







ขนมเสน่ห์จันทร์

       ขนมเสน่ห์จันทร์หมายถึงต้น “จันทน์” ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งมีผลสุก สีเหลือง เปล่งปลั่ง ทั้งสวยงามและมีกลิ่นหอมชวนให้หลงใหล คนโบราณจึงนำความมีเสน่ห์ของผลจันทน์มาประยุกต์ทำเป็น ขนมและได้นำ “ผลจันทร์ป่น” มาเป็นส่วนผสมทำให้มี กลิ่นหอม เหมือนผลจันทร์ ให้ชื่อว่า “ขนมเสน่ห์จันทร์” โดยเชื่อว่าคำว่า เสน่ห์จันทน์ เป็นคำที่มีสิริมงคลจะทำให้มีเสน่ห์ คนรักคนหลง ดังเสน่ห์ของผลจันทน์ ขนมเสน่ห์จันทร์ จึงถูกนำมาใช้ประกอบในงานพิธีมงคลสมรสแต่โบราณนานมามีเรื่องเล่าว่า ชายหนุ่มผู้หนึ่งได้เก็บผลไม้สีเหลืองผุดผ่องไปฝากมารดา เมื่อมารดานำผลไม้นั้นไปเก็บไว้เพื่อรอจะกินพร้อมบุตรชายหลังอาหารเย็น.แต่ผลไม้นั้นกลับได้หายไป คงเหลือแต่กลิ่นที่ยังหอม อบอวล ชวนชื่นใจ พอตกดึกคืนนั้นพระจันทร์เต็มดวง...ชายหนุ่มรู้ว่าผลไม้กลิ่นหอมได้หายไป ด้วยความกตัญญูอยากให้มารดาได้ลิ้มรสจึงกลับมายังต้นไม้ ต้นเดิมเพื่อเก็บผลใหม่ไปให้มารดา เขาได้พบกับหญิงสาวสวยผู้หนึ่ง นางกำลังเดินค้นหาผลไม้กลิ่นหอมนี้เช่นกัน นางกล่าวว่าจะนำไปฝากบิดา และทั้งคู่ก็ได้ผลไม้กลับบ้านดังใจ
ต่อมาทุกคืนวันเพ็ญ...เขาทั้งคู่จะมาหาผลไม้กลิ่นหอมนี้ด้วยกัน จนในที่สุดก็รักกันและแต่งงานกัน ด้วยมนต์เสน่ห์ของผลไม้นี้เองที่นำมาซึ่งความสุข สมหวัง และด้วยความกตัญญู ทั้งคู่จึงนำเมล็ดที่มีกลิ่นหอมของผลไม้ชนิดนี้มาบดใส่แป้งข้าว ใส่ถั่วบ้าง ใส่ไข่บ้าง กะทิ และน้ำตาล กวนรวมกันพอปั้นได้นำมาปั้นเป็นผลลูกจ้นทร์ แจกจ่ายในงานสมรส จากตำนานของขนมเสน่ห์จันทน์จึงเป็นที่นิยมใช้ในพานขนมแต่งงานมาจนถึงปัจจุบัน




















         ที่มา: http://www.oknation.net/blog/Gang504/2013/12/10/entry-1